วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ
ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย ชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะ สตรีมีครรภ์และพวกเด็กๆ มักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบ ทำให้มีค่าครองชีพสูงขึ้น ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเองในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีพืชผักเพียงพอแก่การบริโภคในครัวเรือน ทำให้ได้รับสารอาหารครบตามความต้องการของร่างกาย และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
              การปลูกพืชนั้นไม่ยากเลย ถ้ามองไปรอบด้านภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเมืองใหญ่ เมืองหลวง หรือบ้านในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ล้วนละลานตาไปด้วย "บ้านไทย" ซึ่งไม่ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศ ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเหมือนทุกวันนี้ ซึ่งฝรั่งที่ตั้งใจมาเมืองไทยเพราะต้องการ ดู"บรรยากาศไทยๆ" ดังที่เคยเห็นในหนังสือ ตอนนี้เขบอกว่าบรรยากาศอย่างนี้ ต้องไปดู ที่ลาว ที่เขมรแทน เพราะเมืองไทยไม่ต่างจากเมืองเขาเท่าไหร่นัก บางแห่งดูจะยิ่งกว่า ด้วยซ้ำ ฝรั่ง คนนั้นจึงต้องกลับไปเที่ยว-นอนที่เขมร ลาวแทน เขาบอกว่าบ้านไทย ย้ายไปอยู่ ที่นั่น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิดว่า น่าจะบอกเล่าเรื่องนี้ให้เกษตรกรไทยฟัง ให้เขารื้อฟื้น ความเป็นไทยกลับขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นทางออก พ้นจากความเป็นหนี้ นั่นคือเรื่อง "รั้วกินได้-สวนครัวทำเอง" ที่เราเคยพบเคยเห็นความเป็นมาแล้วในอดีตสมัย เด็กๆ เพื่อล้างและป้องกันนิสัยชอบไปซื้อกิน เอาอย่างความเจริญด้านวัตถุ คือแทนที่ จะปลูกเอง ทั้งๆ ที่มีที่ดินเพาะปลูกอยู่แล้ว กลับนิยมไปซื้อตามห้าง ศูนย์การค้า ฯลฯ  
                 การปลูกพืชผักมีทั้งพืชยืนต้นและล้มลุกตามรั้วมีประโยชน์ทั้งไว้รับประทานเป็นรั้วธรรมชาติ แบ่งอาณาเขตและให้ความปลอดภัย ร่มรื่น พืชกินได้ ผักสวนครัว หรือพืชสวนครัว เช่น พริก กระเพรา ฯลฯ รั้วกินได้เช่น ตำลึง ขจร โสน ฯลฯ การปลูกพืชสวนครัวเหล่านี้ คือแนวทางประกอบการพิจารณาเลือกปลูกพืชผสม พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งอย่างหรือเอนกประสงค์ หากเลือกปลูกพืชผสมหลายอย่างในพื้นที่เดียวกันต้องอาศัยคำแนะนำทางวิชาการ และประสบการณ์ หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะพืชบางชนิดจะปลูกร่วมกันได้ บางชนิดไม่ได้ การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกผักสวนครัวลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกาดำเนินชีวิตทางสายกลาง ยึดหลักการพึ่งพาตนเองการเกษตรดั้งเดิมของไทย ที่ปฏิบัติกันมานานชั่วลูกหลาน ก็คือ การเกษตรธรรมชาติ การเกษตรอินทรีย์ การเกษตรชีวภาพ การวนเกษตร ซึ่งอ่านดูชื่อแล้วเราอาจจะไม่คุ้นเคย หรือไม่เข้าใจ จึงขอสรุปให้ทราบว่า เป็นการเกษตรแบบโบราณเรานั่นเอง คือ ใช้แรงงานจากคน จากสัตว์เลี้ยง ปุ๋ยที่ได้ก็เกิดจากมูลสัตว์ ใบไม้ใบตองนำมากองสุมหมักไว้เมื่อเน่าเปื่อยก็นำไปใส่ต้นไม้ หรือไร่นา ส่วนพืชที่ปลูกก็คือ พืชที่เป็นอาหารประจำวัน เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่ว งา การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ (ดูตัวอย่างพืชภาคผนวก)

ข้อดีของการปลูกผักในกระถาง คือ
                1.ประหยัดพื้นที่ในการปลูก
                2.สามารถ เคลื่อนย้าย จัดวาง ปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระถางผักได้
                3.สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิต
                4.สามารถนำผักที่ปลูกในกระถางไปวางตกแต่งในสวนหย่อม หรือจัดเป็นสวนประดับได้

      ขั้นตอนการปลูกผักในกระถาง
                1.การเตรียมอุปกรณ์ สามารถใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน เช่น กะละมัง, กระถาง, ยางรถยนต์, ถังน้ำ ฯลฯ หากกระถางหรือภาชนะใดมีสารปนเปื้อน พวกน้ำมัน หรือพวกสารเคมีต่างๆ ให้ทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาใช้ และให้จัดตกแต่งกระถาง หรือภาชนะที่ จะนำมาใช้ปลูกผัก เช่น ตัดปาก ตัดกัน หรือทำขอบเพื่อให้กระถางคงทน และสวยงาม การเลือกกระถางปลูก ต้องเลือกให้เหมาะสมต่อผักที่จะปลูก กล่าวคือผักที่มีระบบรากลึก ควรปลูกในกระถางที่มีความลึก ผักที่มีระบบรากตื้นเหมาะกับกระถางที่มีความตื้นไม่มาก
                2.การเลือกผักที่จะปลูก การเลือกผักที่จะปลูก่มีความสำคัญมาก นอกจากจะเลือกผักที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถางปลูกแล้ว ควรเลือกปลูกผักที่มีการใช้บริโภคภายในครอบครัวเป็นประจำทุกวันก่อน เพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นได้รับความสนใจ และมีการนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก และนอกจากผักที่นิยมบริโภคภายในครอบครัวแล้วควรเลือกปลูกผักที่สมาชิกในครอบครัวชอบรับประทานด้วย เพราะจะทำให้ผักนั้นได้รับความสนใจจากสมาชิกในครอบครัวตามไปด้วย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกผักมีความสำคัญ ไม่ควรปลูกผักที่ไม่มีผู้บริโภคเพราะจะทำให้ผักที่ปลูกนั้นไม่คุ้มค่า ควรที่จะปลูกผักให้พอประมาณกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะใด้ใด้มีการหมุนเวียนทางด้านอาหารจะทำให้เกิดความพอเพียง
                3.การเตรียมดิน ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้
- ดินร่วน 1 ส่วน
- ทราย 1 ส่วน
- ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน
- ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี ก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวางทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เอง สามารถหาซื้อดินผสมเสร็จ ที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่วนผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปู หรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดิน ที่มีส่วนผสมของแกลบ หรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ
                4.การปลูกผักลงกระถาง ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่จะปลูก คือ สามารถทำได้ทั้งปลูกแบบใช้เมล็ดพันธุ์หว่าน หรือหยอดลงกระถางเลย หรือ เพราะต้นกล้าก่อนแล้วจึงนำลงปลูกในกระถาง หรือผักบางชนิดสามารถใช้วิธีปักชำลงในกระถางได้เลย
วิธีหว่านหรือหยอดเมล็ด โดยหว่างเมล็ดลงให้กระถางโดยกะระยะห่างของเมล็ด หรือหลุมที่หยอดให้เหมาะสมกับชนิดของผัก ผักที่นิยมปลูกโดยใช้เมล็ดได้แก่ ผักชี, ผักบุ้งจีน, ตั้งโอ๋, ขึ้นฉ่าย เป็นต้น
วิธีเพาะต้นกล้าผักก่อนปลูก นำต้นกล้าผักที่เพาะเมล็ดได้ระยะเวลาที่พอเหมาะ โดยสังเกตจากลักษณะของลำต้น และระบบรากฝอย ถ้าสมบูรณ์ก็สามารถย้ายต้นกล้าผักลงปลูกได้เลย ผักที่นิยมปลูกวิธีนี้ได้แก่ ผักคะน้า, ผักกาดขาว, ผักกาดเขียว, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, ปูเล่, กะเพรา, โหระพา เป็นต้น
วิธีนำส่วนของผักมาปักชำ ผักที่สามารถนำมาลงปลูกแบบปักชำในกระถางได้เลย เช่น สะระแหน่, ชะพลู, หอมแบ่ง, ตะไคร้ ฯลฯ
การปักชำต้องดูว่าผักแต่ละชนิดใช้ส่วนใดในการปักชำได้ ผักบางชนิดมีรากลึกกระถางที่ใช้ปักชำควรมีความลึกที่เหมาะสมต่อผักด้วย หรือผักบางชนิดต้องใช้ไม้ปัก เพื่อพยุงลำต้นผักให้ตั้งตรงและป้องกันการกระทบกระเทือนเวลารดน้ำ ในช่วงแรกๆของการปักชำด้วย
                5.การดูแลรักษาผักในกระถาง ผักที่ปลูกในกระถางสามารถทำการดูแลรักษาได้ง่าย โดยคอยรดน้ำให้ดินในกระถางในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ กำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักมีเจริญเติบโตไม่ดี และควรเปลี่ยนดินเมื่อมีการปลูกผักในครั้งต่อไป หรือปลูกผักชนิดใหม่ในกระถางเดิม ถ้าหากที่ที่วางกระถางอยู่ผักที่ปลูกได้รับแสงไม่เพียงพอ สามารถย้ายกระถางไปวางไว้ในที่มีแสงเพียงพอได้
                6.การเก็บเกี่ยว สำหรับผักที่ปลูกในกระถาง หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบ ให้เก็บใบล่างไปก่อน เหลือยอดบนไว้ให้เจริญต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า ปูเล่ ถ้าเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภค ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้ผักมีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตให้เราได้ใช้บริโภคอีก เช่น สะระแหน่, กะเพรา, โหระพา ฯลฯ
               
                ข้อควรคำนึง ในการปลูกผักในกระถาง ต้องเลือกผักที่ครอบครัวจำเป็นต้องใช้บริโภค เลือกวัสดุเหลือใช้มาใช้เป็นวัสดุปลูกผัก เรื่องของชนิดของผักกับกระถางปลูก ควรจะพิจารณาถึง การหยั่งรากตื้น ของพืชผัก พืชผักที่หยั่งรากตื้น และสามารถ ปลูกลงภาชนะ ปลูกชนิดต่าง ๆ และชนิดห้อยแขวนได้ดี และมีความลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร ดังต่อไปนี้คือ
                -ผักบุ้งจีน คะน้าจีน ผักกาดกวางตุ้ง (เขียวและขาว) ผักกาดฮ่องแต้ ผักกาดหอม ผักกาดขาวชนิดไม่ห่อ (ขาวเล็ก ขาวใหญ่) ตั้งโอ๋ ปวยเล้ง หอมแบ่ง (ต้นหอม) ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักโขมจีน กระเทียมใบ (Leek) กุยช่าย กระเทียมหัว ผักชีฝรั่ง บัวบก สะระแหน่ แมงลัก โหระพา (เพาะเมล็ด) กะเพรา (เพาะเมล็ด) พริกขี้หนู ตะไคร้ ชะพลู หอมแดง หอมหัวใหญ่ หัวผักกาดแดง (แรดิช)
                -วัสดุที่สามารถนำมาทำเป็นภาชนะปลูกอาจดัดแปลงจากสิ่งที่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์เก่า กะละมัง ปลอกซีเมนต์ เป็นต้น สำหรับภาชนะแขวน อาจใช้กาบมะพร้าว กระถาง หรือเปลือกไม้

การปลูกผักในกระถาง หรือในภาชนะ
                วิธีการปลูกผักในภาชนะแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
                                1.เพาะเมล็ดด้วยการหว่านแล้วถอนแยกหรือหยอดเป็นแถวแล้วถอนแยก
ผักบุ้งจีน, คะน้าจีน, ผักกาดขาวกวางตุ้ง, ผักกาดเขียวกวางตุ้ง, ผักฮ่องเต้ (กวางตุ้งไต้หวัน), ตั้งโอ๋, ปวยเล้ง, ผักกาดหอม, ผักโขมจีน, ผักชี, ขึ้นฉ่าย, โหระพา, กระเทียมใบ, กุยฉ่าย, หัวผักกาดแดง, กะเพรา, แมงลัก, ผักชีฝรั่ง, หอมหัวใหญ่
                                2.ปักชำด้วยต้น และด้วยหัว                 
หอมแบ่ง (หัว), ผักชีฝรั่ง, กระเทียมหัว (ใช้หัวปลูก), หอมแดง (หัว), บัวบก (ไหล), ตะไคร้ (ต้น), สะระแหน่ (ยอด), ชะพลู (ต้น), โหระพา (กิ่งอ่อน), กุยช่าย (หัว), กะเพรา (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน), แมงลัก (กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน) ** มีบางพืชที่ปลูกด้วยหัว หรือส่วนของต้นก็ได้หรือปลูกด้วยเมล็ดก็ได้ ดังนั้นจึงมีชื่อผักที่ซ้ำกันทั้งข้อ 1 และ 2

                การปฏิบัติดูแลรักษาผักในกระถาง หรือในภาชนะ
                การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
                                1.การให้น้ำ
                การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำอย่างเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
                                2.การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะ คือ
                                                2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูกปุ๋ยที่ใส่รองพื้นควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่ว ก่อน ปลูกเพื่อ ปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการ อุ้มน้ำและรักษาความชื้น ของดินให้เหมาะสม กับการ เจริญเติบโตของพืชด้วย
                                                2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรจะใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบาง ๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ ผักตาย ได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้น และใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล
                                3.การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
                ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรง โดยการกำจัดวัชพืช การให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและ แมลง ระบาด มากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่าง ๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่าง ๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสม น้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดาถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น ให้ใช้น้ำยา ล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทากให้ใช้ปูนขาวโรยบาง ๆ ลงบริเวณพื้นดิน
                                4.การเก็บเกี่ยว
                การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผัก ประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดี และจะทำให้ผลดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง
สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปลี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคง เหลือ ลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผล ได้อีกหลายครั้งทั้งนี้จะต้อง มีการดูแล รักษา ให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพื้นหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูกผัก หลายชนิดในแปลงเดียวกันและปลูกผัก ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้าง ยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทาน ได้ใน ครอบครัว ในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี

ประโยชน์ของการปลูกพืชผักที่มีต่อนักเรียน
การปลูกพืชผักเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับทุกครอบครัวเพราะการที่เรามีผักสดไว้ใช้สำหรับปรุงอาหารเอง ย่อมทำให้เกิดความสบายใจในการบริโภคผักไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับพิษของยาฆ่าแมลงความสะอาดซึ่งเราสามารถสรุปความสำคัญและประโยชน์ของการปลูกพืชผักได้ดังนี้
1.ได้ผักสดไว้รับประทานไว้ปรุงอาหารตลอดทั้งปี
2.ได้ผักที่ปลอดจากสารพิษพวกยาฆ่าแมลงไว้บริโภค
3. การทำสวนผักช่วยฝึกให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักทำงาน รู้จักธรรมชาติ และได้ออกกำลังกายใน               ขณะที่ปลูกและการดูแลรักษา
4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. มีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อนำผักที่เหลือจากการบริโภคไปขาย
6. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านเมื่อมีการแบ่งปันพืชผักแก่กัน
7.ได้พืชสมุนไพรหลายชนิดไว้รักษาโรคภัยไข้เจ็บเช่น พริก ขิง ข่าสะระแหน่ ตะไคร้ เป็นต้น
8.ใช้พืชที่วัสดุเหลือใช้บางอย่างให้เป็นประโยชน์ พื้นที่ภายในบ้านบางแห่งไม่สามารถ
ใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้เราสามารถปลูกพืชผักเช่นการทำสวนผักลอยฟ้า ใช้ภาชนะที่เหลือใช้ใส่ดินปลูกผักมาตั้งไว้เป็นต้น
9. สร้างบรรยากาศในครอบครัวให้ดีขึ้นสมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพจิตดีมีความรักในอาชีพเกษตรกรรมและที่สำคัญคือประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัวในด้านหาซื้อผักมาปรุงอาหาร
สรุปแล้วการปลูกพืชผักมีประโยชน์ต่อผู้ปลูกทั้งด้านสุขภาพทางกายสุขภาพจิตและด้านเศรษฐกิจของครอบครัวดียิ่งขึ้น
10.ช่วยให้มีรายได้เลี้ยงตนและครอบครัว
11.ช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการปฏิบัติตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12.ช่วยให้มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจากการทำงานเกษตร เพราะการทำงานเกษตรส่วนใหญ่ต้องใช้กำลัง เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์และประมง
13.นำผลผลิตมาใช้เป็นอาหาร และยารักษาโรคได้
14.ทำให้มีความรู้จากการศึกษาค้นคว้า และพัฒนางานเกษตรอย่างต่อเนื่อง เช่น ใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี ใช้สารสกัดจากพืชแทน สารเคมี เป็นต้น

 ประโยชน์ของวิชาการเกษตรการปลูกพืชผัก
 ความหมายของการเกษตรการเกษตร หรือการเกษตรกรรม (Agriculture) หมายถึงการเพราะปลูกพืชต่างๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง ผู้ที่ทำการเกษตรนั้น การเรียกว่า เกษตรกร ส่วนคำว่า กสิกร นั้นหมายถึงผู้ที่ทำการกสิกรรม คือผู้ที่ปลูกพืชเพียงอย่างเดียว เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน การเกษตรจึงเป็นการจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน และทุน โดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตจากทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเรานิยมเรียกว่าผลผลิตทางการเกษตร
ประโยชน์และความสำคัญของการเกษตร
เมื่อนักเรียนได้ผ่านการศึกษาในรายวิชางานเกษตรพื้นฐานนี้แล้ว นักเรียนสามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ในหลายลักษณะคือ
(1) เป็นอาชีพเสริมอาชีพหลัก คือการทำการเกษตรเป็นอาชีพที่เสริมอาชีพอื่นที่ทำเป็น งานหลักอยู่แล้ว เช่น การปลูกพืชผักไว้จำหน่ายในขณะรับราชการครู
(2) เป็นอาชีพธุรกิจและบริการทางการเกษตร เช่นจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ รับจัด
สวนหย่อม จำหน่ายเครื่องมือทางการเกษตรจำหน่ายผลผลิตเกษตร
(3) เป็นอาชีพหลัก ได้แก่การทำการเกษตรเพื่อเป็นรายได้หลักของครอบครัว เช่น ปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงกุ้ง ฯลฯ
นอกจากนี้การเกษตรกรรมยังมีบทบาทที่สำคัญ ต่อประเทศในหลายๆ ด้าน ได้แก่
(1) ด้านเศรษฐกิจ
(2) ด้านสังคม
(3) ด้านการเมืองการปกครอง
(4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ